วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การนอนหลับยาวอาจมีผลกระทบต่ออายุสมอง 4-7 ปี

จากงานวิจัยในวารสาร SLEEP ฉบับเร็ว ๆ นี้ ได้กล่าวถึง ระยะเวลานอนหลับ ที่แตกต่างกันไป ในช่วง 5 ปีของอายุมนุษย์ ส่งผลกระทบกับการทำงานของสมองในระยะเวลาต่อมาอย่างไร* พบว่า หากเรานอนหลับได้นาน 6-8 ชั่วโมง ดูเหมือนว่า ร่่างกายจะมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นปกติ


หากนอนหลับ น้อยกว่า หรือ มากกว่า 6-8 ชั่วโมงต่อคืน อาจส่งผลให้อัตราการเสื่อมของสมองเร็วขึ้น เทียบเท่ากับ ระยะเวลาถึง 4-7 ปี

"ผลลัพธ์หลัก จากการวิจัยของเราคือ การเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาในการนอนหลับ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ ความเสื่อมมากขึ้นของสมองในช่วงอายุกลางคน" เป็นคำกล่าวของ Jane Ferrie, PhD, นักวิจัยอาวุโส ของ University College London Medical School Department of Epidemiology and Public Health ในประเทศอังกฤษ

ข้อมูลนี้ได้มาจาก Whitehall II study ที่ได้วิจัยจากประชากรชาวลอนดอน กว่า หนึ่งหมื่นคน ในช่วงอายุ 35-55 ปี

"ผลกระทบที่เลวร้ายต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ จากการนอนมากเกินไป การนอนน้อยเกินไป และ การหลับไม่สนิท ได้รับความสนใจมากขึ้น" Ferrie เสริม

"ส่งผลให้การใช้เวลา ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันในหนึ่งสัปดาห์ ในสังคม ของหลาย ๆ คน ได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้น

สิ่งที่ควรจะพิจารณามากขึ้นคือ จะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง ต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ในระยะยาว จากการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาในการนอนหลับของเรา"


*Sleep. 2011 May 1;34(5):565-73.



อ้างอิง

Sleep Length May Affect Cognitive Aging 4 to 7 Years


0 comments:

แสดงความคิดเห็น

ฝากข้อความตรงนี้ค่ะ

***ขอความกรุณาอย่า SPAM นะคะ***