วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วิธีทดสอบสารอันตรายในเครื่องสำอาง How to Test Hazardous Materials in Cosmetic

สารอันตรายที่กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศห้ามใช้ ใีนการผลิตเครื่องสำอาง ที่สำคัญและมีบทบาทก่อให้เกิดอันตรายทั้งด้านผิวพรรณ และ สุขภาพ ได้แก่


1. สารไฮโดรควิโนน ในครีมทาฝ้า มีฤทธิ์ในการยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีของผิวหนัง(เมลานิน) ทำให้หน้าขาวขึ้น แต่เป็นการลดการสร้างเมลานินเพียงชั่วคราวเท่านั้น หากหยุดใช้ครีมทาฝ้าดังกล่าว สีผิวจะกลับเป็นอย่างเดิมหรือเป็นมากกว่าเดิม ข้อดีของสารไฮโดรควิโนนคือ ไม่ทำลายเซลล์สร้างสี แต่มักทำให้เกิดการระคายเคือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับกรดวิตามินเอ และหากใช้ไฮโดรควิโนนติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่า 6 เดือน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อภายในผิวหนังทำให้เกิดเป็นฝ้าถาวรสีน้ำเงินอมดำ ซึ่งอาจเกิดจากการที่ผิวหนังมีการปรับตัวให้สร้างเม็ดสีมากขึ้น




ภาพจาก เอกสารภาพนิ่ง
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1
จังหวัดตรัง
2. สารปรอทแอมโมเนีย ในครีมทาป้องกันฝ้า หรือ เรียกกันว่าครีมไข่มุก นั้น จะออกฤทธิ์ในการลดการสร้างเม็ดสีของผิวหนัง ทำให้ใบหน้าขาวขึ้น แ่ต่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ มีผื่นแดง ผิวหน้าดำ เมื่อหยุดใช้ ผิวบางลงได้ และหากใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี่สวนผสมของปรอทแอมโมเนียติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้มีการสะสมปรอทในผิวหนัง และดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้ตับ และไตพิการ โรคโลหิตจาง ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น

วิธีการตรวจสอบปรอทแอมโมเนียในเครื่องสำอาง



ภาพจากแผ่นพับ
อันตรายเครื่องสำอาง
ผิดกฎหมาย รุ่นที่ 4
(ผลิต กันยายน 2553)
3. กรดวิตามินเอ (วิตามินเอแอซิด หรือ เรติโนอิกแอซิด หรือ เตรติโนอิน) นิยมใช้ในการรักษาสิว มีฤทธิ์กระตุ้นการหลุดลอกของผิวหนังชั้นนอกอย่างรุนแรง และยังลดการยึดติดกันของเซลล์ผิวหนัง เมื่อเซลล์หลุดลอกออกได้ง่าย ก็จะทำให้การอุดตันของไขมันที่ผิวหนังลดลง จึงใช้รักษาสิวได้ แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร เพราะอาจทำให้ผู้ใช้เกิดอันตรายได้ เช่น หน้าแดง ระคายเคือง แสบร้อนรุนแรง ผิวหน้าลอก และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ดังนั้นกฎหมายจึงกำหนดให้กรดวิตามินเอเป็นสารที่ห้ามใช้ในเครื่องสำอาง หากผู้ใดลักลอบใส่ในเครื่องสำอางจะมีความผิดตามที่กฎหมายกำหนดค่ะ

วิธีตรวจสอบกรดวิตามินเอในเครื่องสำอาง




ข้อมูลอ้างอิง :
1. หนังสือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งเป็นพิษ เล่ม 15 พ.ศ. 2544 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หน้า9-14.

ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

2. สายด่วนอย. เมนู 1024 เรื่อง วิตามินเอ และกรดวิตามินเอ ต่างกันอย่างไร

3. เอกสารภาพนิ่ง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 จังหวัดตรัง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่่ค่ะ


0 comments:

แสดงความคิดเห็น

ฝากข้อความตรงนี้ค่ะ

***ขอความกรุณาอย่า SPAM นะคะ***